การสร้างตาราง
หากต้องการนำเสนอข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ หรือข้อมูลที่ต้องมีการเปรียบเทียบกันการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง จะช่วยทำให้ข้อมูลประเภทนี้ดูง่ายยิ่งขึ้นและเป็นระเบียบเรียบร้อยอ่านได้ง่ายกว่าปกติ การสร้างตารางในเอกสาร HTML มีอยู่หลายรูปแบบแล้วแต่ผู้เขียนโปรแกรมจะกำหนดโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โครงสร้างของตาราง
ตัวอย่างการสร้างตาราง
ผลลัพธ์
2.1 คำสั่ง BORDER ใช้กำหนดความหนาให้กับเส้นขอบของตาราง มีหน่วยเป็น Pixel ถ้าไม่ใส่คำสั่งนี้ไว้ด้วย BORDER ก็จะมีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งเป็นค่าปกตอ คือจะไม่เห็นเส้นขอบของตาราง ตัวอย่างการใช้คำสั่ง BORDER ผลลัพธ์ 2.2 คำสั่ง ALIGN ใช้กำหนดตำแหน่งการจัดวางตาราง มี 3 รูปแบบ คือ - LEFT คือ จัดตารางชิดซ้าย (ค่าปกติ) ของจอภาพ - RIGHT คือ จัดตารางชิดขวาของจอภาพ - CENTER คือ จัดตารางไว้กึ่งกลางของจอภาพ ตัวอย่างการสร้างตารางอยู่กึ่งกลางจอภาพ ผลลัพธ์ 2.3 คำสั่ง WIDTH ใช้กำหนดความกว้างของตารางทั้งหมด มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้ 2.4คำสั่ง HEIGHT ใช้กำหนดความสูงของตารางทั้งหมด มีหน่วยเป็น Pixel หรือ เปอร์เซ็นต์ก็ได้ 2.5 คำสั่ง BGCOLOR เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดสีพื้นหลังของตารางใช้ได้กับเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer เท่านั้น ตัวอย่างการใช้คำสั่ง WIDTH , HEIGHT , BGCOLOR โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความหนาของเส้นขอบตาราง ผลลัพธ์ 2.6 คำสั่ง CELLPADDING ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดของตาราง โดยการเพิ่มขนาดหรือลดขนาดตามความสูงของเส้นขอบตาราง ผลลัพธ์
2.7 คำสั่ง Colspan และ Rowspan
คำสั่ง <TD COLSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมคอลัมน์เข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนคอลัมน์ที่กำหนดไว้
รูปแบบคำสั่ง <TD COLSPAN = "Number">
โดยที่ - COLSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมคอลัมน์
- Number คือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมคอลัมน์เข้าเป็นคอลัมน์เดี่ยวกัน
คำสั่ง <TD ROWSPAN> เป็นคำสั่งในการรวมแถวเข้าด้วยกัน ตามค่าของจำนวนแถวที่กำหนดไว้
รูปแบบคำสั่ง <TD ROWSPAN = "Number">
โดยที่ - ROWSPAN คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดการรวมแถว
- Number คือ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการรวมแถวเข้าเป็นแถวเดียวกัน
ผลลัพธ์ ที่มา: https://sites.google.com/site/cirayus/sux-kar-reiyn-ru/kar-srang-tarang |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น